เคยเป็นไหม รู้สึกเสีย self เวลาที่ถ่ายวิดีโอออกมาแล้วไม่สวยเหมือนคนอื่น อัตราส่วนไม่ได้ ถ่ายออกมาแล้วดูแข็งๆ ไม่สมูท ทั้งๆที่ก็ใช้กล้อง GoPro ถ่ายเหมือนกับคนอื่น บางครั้งใช้อุปกรณ์เสริมช่วย ไม่ว่าจะเป็นไฟเสริม ไมโครโฟนเสริม แต่ก็ไม่ช่วยให้วิดีโอดีขึ้นเท่าที่ควร เป็นเพราะอะไรกันเคยสงสัยบางหรือไม่ สำหรับใครที่เป็นมือใหม่ หรือ ถ่ายมากี่ครั้งก็ไม่ดี บทความนี้จะมาแนะนำ 6 เทคนิคการถ่ายวีดีโอ GoPro ที่ช่วยทำให้คุณสามารถถ่ายวีดีโอออกมาได้โปรมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นเทคนิคง่ายๆ ที่คุณสามารถทำได้ และ ช่วยให้วิดีโอของคุณเจ๋งขึ้นกว่าเดิม ไปอ่านบทความกันเลย!!!
6 เทคนิคการถ่ายวีดีโอ GoPro ที่ช่วยให้วีดีโอของคุณเจ๋งกว่าเดิม
มารู้จักเทคนิคการถ่ายวิดีโอง่ายๆ ที่คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเอง เพียงแค่ทำสิ่งนี้คุณจะสามารถถ่ายวิดีโอออกมาได้ปังกว่าเดิมแน่นอน
เทคนิคที่ 1 – การปิดเสียงลดเสียง เวลากดเปิด
เทคนิคนี้เป็นเทคนิคสำหรับสาย snap shot จังหวะที่เป็นธรรมชาติ จังหวะเผลอๆ การที่เราเปิดเสียงเอาไว้ บางครั้งก็ทำให้จังหวะนั้นเสียไป การที่เราปิดเสียงเอาไว้จะทำให้เราได้โมเมนต์ที่ดูเป็นธรรมชาติ เทคนิคนี้ทำให้เสียงไม่ไปเปลี่ยนพฤติกรรมของคนที่เราจะถ่าย อย่างเช่น เวลาที่เราจะถ่ายจังหวะการหัวเราะที่เป็นธรรมชาติ หากมีเสียงอาจจะทำให้คนถูกถ่ายรู้ตัว และ วิดีโอที่ได้ก็จะดูไม่เป็นธรรมชาติ หรือ เวลาประชุมทางการการมีเสียงกดอัดอาจจะทำให้เรากลายเป็นจุดสนใจขึ้นมาได้
วิธีการตั้งค่าลดเสียง
- สไลด์หน้าจอด้านบนลงมา
- ปัดหน้าจอไปทางด้านซ้าย > เลือกที่ Peference
- เลือกที่ General > เลือกที่ BEEP volume
- ตั้งค่าระดับเสียงตามที่เราต้องการ ทั้ง High , Medium , low
วิธีการตั้งค่าปิดเสียง
- สไลด์หน้าจอด้านบนลงมา
- เลือกที่รูปโน๊ตดนตรี ด้านบนอันที่ 2
- หากขึ้นเป็นสีฟ้า ให้กดหนึ่งทีให้เป็นสีเทา หรือ ขึ้นoff ก็เป็นอันเรียบร้อย
เทคนิคที่ 2 – การเลือกระยะให้เหมาะสม
หลายๆคนตกม้าตาย เพราะ เลือกระยะของภาพผิด จะถ่ายใกล้ๆแต่ดันเลือกเลนส์ระยะไกล การเลือกระยะ คุณสามารถทำการ fix ระยะที่ต้องการได้ แต่บางครั้งก็อยากได้มุมกว้างๆ บางครั้งก็อยากถ่ายระยะแคบๆ หากใครที่เป็นมือใหม่ควรจะต้องรู้ระยะพื้นฐานให้ดี เพื่อจะทำให้คุณสามารถถ่ายวิดีโอได้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
ระยะของเลนส์ในโหมดวิดีโอจะมีด้วยกัน 4 ระยะ
- Superview (16 MM) ถือว่าเป็นระยะที่กว้างที่สุดสำหรับคนที่ต้องการเก็บบรรยากาศ เป็นเลนส์ที่ให้มุมโค้งเล็กน้อย เพื่อเก็บบรรยากาศ ทำให้เราสามารถเก็บรายละเอียดได้ดีมากยิ่งขึ้น แต่คุณสามารถครอปรูปเป็นทรงปกติไปใช้ตัดต่อได้ เหมาะสำหรับการถ่าย บรรยากาศกว้างมากๆ เช่น วิว หรือ ถ่ายคนหมู่คณะ ให้ภาพที่มีมิติกว่าเลนส์อื่นๆ
- Wide (16-34MM) ระยะที่กว้างรองลงมาจากระยะ Superview เป็นระยะที่จะเน้นซูมเข้ามามากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถโฟกัสคนที่อยู่กลางภาพได้ และ ก็ยังถ่ายวิวมุมกว้างได้อีกด้วย สำหรับคนที่ไม่ต้องการภาพที่มีมุมโค้งจนเกินไป หากนำไปถ่ายคน ถ้าวางขาถูกจุดก็จะทำให้ดูขายาวมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นเลนส์ระยะใกล้เคียงสายตาทำให้จัดองค์ประกอบได้ง่าย
- Linear (19-39MM) เป็นระยะที่รองลงมาจาก Wide ให้ภาพที่เหมือนซูมเข้าไปตรงกลาง แต่ยังเก็บบรรยากาศรอบข้างได้บ้าง เหมาะสำหรับถ่าย ทั่วไปที่ไม่ต้องเน้นระยะมากนัก หรือ สิ่งที่ต้องการโฟกัสแต่ก็อยากเก็บบรรยากาศรอบๆด้วย
- Narrow (27MM) ให้ขอบเขตการมองเห็นเป็นระยะที่แคบที่สุด แต่มุมมองแคบที่ไม่แคบจนเกินไป เป็นมุมมองใหม่ที่มีในรุ่น GoPro 8 ขึ้นไป เหมาะสำหรับเน้นการซูมเข้าตรงกลางแล้วกดถ่าย เพื่อเน้นวัตถุ เช่น การถ่ายดอกไม้ สัตว์ป่า เป็นต้น
เทคนิคที่ 3 – การใช้ Slow motion
เป็นเทคนิคในการทำให้วิดีโอช้าลง ด้วยการตั้งค่าในโหมด Slow motion ที่ช่วยให้วิดีโอดูมีลูกเล่นมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยให้วิดีโอมีหลายมิติมากยิ่งขึ้น แต่ไม่ใช่ว่าจะใช้วิดีโอ Slow motion ทั้งไฟล์ แต่อาจจะใช้บางช่วงที่ต้องการจะดึงความสนใจ เช่น หากถ่ายคน ก็อาจจะเป็นตอนสะบัดผม หากถ่ายวิว อาจจะเป็นตอนที่ลมพัดดอกไม้ปลิว เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังต้องดูเรื่องของเฟรมเรท (fps) เช่น 140 fps / 1 sec หมายความว่า ใน 1 วินาทีจะสามารถถ่ายภาพนิ่งได้ 140 ภาพ ยิ่งเฟรมเรทมค่าสูงๆ จะสามารถเก็บภาพได้ละเอียดกว่าเฟรมเรทต่ำๆ บางคนถ่ายสโลโมชั่นมาแต่ทำไมพอมาดูย้อนหลังแล้ว ทำไมไม่สโลซึ่งก็ขึ้นอยู่กับเฟรมเรทนั้นเอง
Frame rate จะมีด้วยกันทั้งหมด 3 ประเภท
- Frame rate ของกล้องที่บันทึก เป็นการบันทึกของตัวกล้องปกติที่สามารถปรับเปลี่ยนได้
- Frame rate ในโปรแกรมตัดต่อต่างๆ ทำได้ในโปรแกรมตัดต่อวิดีดอต่างๆ เช่น Premiere Pro
- Frame rate ที่อยากให้วิดีโอของเรา playback เป็นการปรับค่าเฟรมเรทให้แตกต่างกัน เพื่อให้วิดีโอที่ออกมาสโลโมชั่น
จะตั้งค่าเฟรมเรทอย่างไรให้คุณภาพวิดีโอออกมาคุณภาพดี? – การทำวิดีโอสโลโมชั่น ยิ่งอยากให้วิดีโอสโลควรจะใช้เฟรมเรทน้อยๆ แต่หากเราไม่ต้องการลดเฟรมเรท ให้เราทำการลด speed ลงแทนจะทำให้วิดีโอออกมาสโลได้ แต่รู้หรือไม่ว่าหากเราลดสปีทมากไป จะทำให้วิดีโอของคุณออกมาติดขัด ไม่ลื่นไหล และ ดูไม่ธรรมชาติ ซึ่งการจะลดสปีทจะต้องดูเฟรมเรทบนtimeline ควบคู่ไปด้วย เพราะว่าเฟรทเรทที่ต่างกันก็จะมีค่าสปีทสูงสุดที่สามารถลดได้ ซึ่งไม่ควรลดเกินกว่าที่กำหนดไว้ เพื่อความธรรมชาติของวิดีโอ เช่น หากtimeline(เฟรมเรทของวิดีโอที่เรา Import เข้ามาในโปรแกรมตัดต่อ) อยู่ที่ 30fps และ เฟรมเรทตัดต่อ(เฟรมเรทที่เราต้องการตัดต่อวิดีโอ) อยู่ที่ 120 fps จะสามารถลดสปีทได้สูงสุด 25% ซึ่งจะทำให้วิดีโอออกมาสมูท เป็นธรรมชาติ ค่าของสปีทที่ลดได้สูงสุดมากจากการคำนวณ ดังต่อไปนี้
ค่าสปีทที่สามารถลดได้สูงสุด = (เฟรมเรทตัดต่อ / เฟรมเรทtimeline) จากนั้นให้นำไปหาร 100 เช่น 120/30 = 4 > 100/4 = 25%
เทคนิคที่ 4 – การจัดวางองค์ประกอบด้วยกฎ 3 ส่วน
เทคนิคนี้ก็นับว่าเป็นเรื่องพื้นฐานที่หลายๆคนมองข้าม การจะให้ภาพ หรือ วิดีโอสวยงาม องค์ประกอบที่เหมาะสมนับว่าสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่นๆเลย ซึ่งหลายๆคนมองว่ายาก วันนี้เลยจะขอแนะนำการจัดองค์ประกอบด้วยกฎ 3 ส่วน นั้นคือเวลาที่เราถ่ายรูปภาพให้เราแบ่งภาพออกเป็น 3 ส่วน ทั้งส่วนของแนวตั้ง และ แนวนอน โดยให้เราแบ่งจุดโฟกัสหลักๆ ทั้งหมด 4 จุด ตามแนวจุดตัดของเส้น หากเราจะถ่ายภาพให้เรายึดจุดใดจุดหนึ่งของจุดตัด โดยให้เอาจุดที่เด่นที่สุดของภาพ ไว้ที่จุดตัด เพียงแค่นี้ก็จะทำให้คุณถ่ายวิดีโอออกมาได้สวยมากยิ่งขึ้น
วิธีตั้งค่ากริดสำหรับจัดองค์ประกอบ
- สไลด์หน้าจอลงมา
- เลือกที่เมนู Grid ที่เป็นรูปตาราง อยู่แถวล่างอันแรก หากมองจากแนวตั้ง > กด on เพื่อเปิดการใช้งาน
เทคนิคที่ 5 – การ Exposure แสง
เคยเป็นไหมเวลารูป ถ่ายวิดีโอออกมาแสงก็เยอะเกินไป ภาพขาวโอเวอร์ นอกจากการจัดองค์ประกอบแล้ว การจัดแสงยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้ภาพสวยมากยิ่งขึ้น แต่หากถ่ายข้างนอกจะไปจัดแสงก็ไม่ได้ แต่เราสามารถตั้งค่าในโหมด Exposure ได้
การตั้งค่าโหมด Exposure ให้ทำการกดค้างที่หน้าจอ จากนั้นหน้าจอจะทำการขยาย โดยจะสามารถเลือกโหมดได้ 3 แบบ ด้วยการแตะที่หน้าจอเพื่อเปลี่ยนโหมด
- Auto Exposure เป็นการตั้งค่าปกติของเครื่องโกโปร หากใครไม่อยากตั้งค่าเอง ก็ใช้เป็นโหมดนี้ ซึ่งเป็นโหมดปกติของตัวกล้อง โดยที่กล้องจะทำการเลือกแสงให้ บางครั้งอาจทำให้แสงโอเวอร์เกินไป หากใครที่ไม่ได้ซีเรียสเรื่องแสงมากสามารถใช้งานได้ แต่หากใครต้องการตั้งค่าก็สามารถเลือกล็อคแสงได้จากแบบ Spot Meter และ Locked Exposure
- Spot Meter การปรับแสงตามจุดที่เราเลือก เลือกจุดไหนจุดนั้นจะสว่าง ถ้าจุดสว่างนั้นสว่างก็จะมืดลง เหมาะสำหรับการถ่ายใต้เงา ที่แสงน้อย
- Locked Exposure เป็นการล็อคแสงไม่ให้เปลี่ยนไป หากชอบแสงตรงไหนก็ทำการล็อคแสงนั้นเอาไว้ เหมาะสำหรับการถ่ายในร่มแล้วออกไปในที่แสงเยอะ
เทคนิคที่ 6 – Protune
องค์ประกอบก็จัดแล้ว แสงก็จัดแล้ว แต่ทำไมรูปในวิดีโอออกมาไม่สวย คุณสามารถปรับให้วิดีโอของคุณสวยขึ้นได้ตามใจคุณด้วย Protune คือ การตั้งค่ารูปแบบของสี คุณภาพของภาพ ที่จะแสดงออกมา โดยเราการตั้งค่า Protune ได้ตามความชอบ ไลฟ์สไตล์ของคุณ
- Bit Rate – High ยิ่งสูงไฟล์ยิ่งมีคุณภาพสูงสำหรับนำไปตัดต่อ ปรับแต่ง
- Shutter – 1/50 (ให้เอาค่าเฟรมเรทx2)
- EV Comp – N/A
- White Balance – Auto
- ISO Min – 100
- ISO Max – 800
- Sharpness – Medium หากใครชอบภาพคมๆสามารถเลือก Highได้
- Color – GoPro หากใครต้องการปรับแต่งสีสามารถเลือกอันอื่นได้
สามารถปรับแต่งได้ตามสไตล์ ตามความชอบ แต่หากเป็นมือใหม่ให้ลองตั้งค่าตามนี้ รับรองว่าภาพของคุณจะสวยขึ้นอีก
ติดตาม GoPro Club รับข่าวสาวก่อนใคร!!!
หากคุณชื่นชอบการถ่ายรูป ชื่นชอบโกโปร ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับ GoPro ที่จะมาอัพเดตก่อนใคร มีทั้งสาระความรู้ และ เทคนิค การพูดคุยแลกเปลี่ยน ซื้อขายกล้องโกโปร ที่บอกได้เลยว่าสาวก GoPro ห้ามพลาด ได้ที่ GoPro Club เท่านั้น!!!
ติดตาม AquaPro เพื่อไม่ให้พลาดทุกโปรโมชั่นใหม่ ๆ ทั้งกล้อง GoPro และอุปกรณ์เสริม GoPro ได้หลากหลายช่องทางที่
Facebook : AquaproThailand
Line : @aquapro
Shopee : Aquaprothailand